วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาชีพต่างๆของคนไทยภาคเหนือ


อาชีพต่างๆของคนไทยภาคเหนือ


   เกษตรกรรม เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน อาชีพเกษตรกรรมที่ควรรู้จักมีหลายอาชีพดังนี้

    1. ทำนา เป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนไทยตั้งแต่อดีตเพราะคนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก ผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา เรียกว่า ชาวนา อาชีพชาวนาจึงเป็นอาชีพที่สำคัญเพราะเป็นอาชีพที่ผลิตข้าวเลี้ยงคนในประเทศไทย ชาวนาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
     2. อาชีพทำสวน เป็นอาชีพที่ปลูกผักหรือผลไม้ ผู้ที่ประกอบอาชีพทำสวนเรียกว่า ชาวสวน คือการปลูกผลไม้ ผัก หรือไม้ดอกต่างๆ การทำ สวนในเเต่ละภาคเป็นตามสภาพ ภูมิอากาศ ภาคเหนือนิยมปลูกผัก เเละ ผลไม้เมืองหนาวต่างๆ ภาคใต้ทำสวนยาง พารา มะพร้าว ภาคตะวันออก ทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน เป็นต้น

     3. อาชีพทำไร่ เป็นอาชีพที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด สับปะรด ผู้ที่ประกอบอาชีพทำไร่เรียกว่า ชาวไร่

     4. อาชีพเลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพสำคัญของไทยควบคู่กับการเพาะ ปลูก เเละการประมง เดิมการเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่มักเลี้ยง เพื่อเป็นอาหารหรือ ไว้ใช้งาน เเต่ ปัจจุบันเรายังเลี้ยงเพื่อการค้า อีกด้วย สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้งาน ได้เเก่ ช้าง ม้า วัว ควาย ส่วนสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร ได้เเก่ หมู วัว เป็ด ไก่ ปลา เเละ อื่นๆ 
   5.อาชีพประมง เป็นอาชีพที่จับสัตว์นำ้หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้ที่ประกอบอาชีพประมงเรียกว่า ชาวประมง การประมงของประเทศไทย มีมากทางเเถบ ทางใต้เเละภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย บริเวณเลียบชายฝั่งทะเล สัตว์น้ำที่ทำการ ประมง ได้เเก่ ปู ปลา กุ้ง หอย ซึ่งนอกจาก จะเป็นอาหารภายในประเทศเเล้ว เรายังส่ง เป็นสินค้าออก
 อาชีพอุตสาหกรรม เป็นอาชีพที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติ และการนำผลผลิตจากเกษตรกรรมมาผลิตเป้นสินค้าที่ใช้เครื่องจัก เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เช่น ปลากระป๋อง ผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมสิ่งทอได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป

 อาชีพหัตถกรรม เป็นอาชีพที่เอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ด้วยมือเป็นสินค้า

 อาชีพค้าขาย เราเรียกผู้ที่มีอาชีพค้าขายว่า พ่อค้า หรือ เเม่ค้า ซึ่งเป็นผู้ที่นำผลิตผลต่างๆ มาจำหน่าย เเก่คนในชุมชน ทำให้คนใน ชุมชนได้รับความสะดวก
สบาย ไม่ต้องไปซื้อหาผลิตผลเหล่านั้นจากผู้ผลิต

 

อาชีพของประชากรไทยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่อาชีพเกษตรกรรม อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของชนชาวไทย รองลงมาคือ อาชีพด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม นอกจากนี้ก็ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ การเมือง แพทย์ ทนายความ และอีกหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ใช้ฝีมือแรงงาน
ทำนา มีฝนตก ต้องปลูกบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ทำสวน บริเวณที่อุดมสมบูรณ์
ทำไร่ บริเวญที่อุดมสมบูรณ์
เลี้ยงสัตว์ ภูมิอากาศแห้งแล้ง เป็นทุ่งหญ้า

อาชีพท้องถิ่น


อาชีพท้องถิ่น

 




เกษตรกร

        เป็นอาชีพที่คนไทยส่วนใหญ่ทำ เนื่องจากมีที่ทำกิน ซึ่งตกทอดมาจากพ่อแม่ หรือปู่ยาตายาย และถ้าเหลือจากการทำเกษตรแล้ว ยังสามารถนำมาบริโภคภายในครอบครัวได้อีกด้วย จึงทำให้เกิดความนิยมกันมากในชุมชน เกษตรกรเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับคนไทยโดยนำผลผลิตที่ได้ส่งออกต่างประเทศ เช่น ข้าว ผลไม้ เป็นต้น 


 



รับราชการ

        อาชีพรับราชการเป็นอาชีพที่มีเกียรติ เป็นที่นับหน้าถือตา อาชีพรับราชการเป็นอาชีพที่คอยพัฒนาชาติ บ้านเมือง และพัฒนาคน เช่น อาชีพครู ที่สอนเด็กนักเรียน ให้มีความรู้ มีความสามารถ เพื่อจะนำมาพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองต่อไป อาชีพตำรวจ ก็ป้องกันอันตรายให้กับประชาชน และคอยสอดส่องผุ้ที่กระทำผิด จากการยกตัวอย่างทำให้เห็นว่าอาชีพรับราชการเป็นอาชีพที่ต้องเสียสละ อดทน และความรักในอาชีพนั้นจริงๆถึงจะประกอบอาชีพนี้ได้


 



 ค้าขาย

        เป็นอาชีพที่สุจริตอย่างหนึ่ง เนื่องจากคนไทยเป็นคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใส อัธยาศัยดี พูดจาไพเราะ จึงทำอาชีพค้าขาย เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ประชาชนให้ความสนใจ ทั้งนี้การค้าขายนั้นจะมีตั้งแต่ระดับรากหญ้า ถึง ระดับสากล คนที่มีความชำนาญในการค้าก็จะสามารถพาธุรกิจของตนให้ประสบผลสำเร็จได้ นอกจกอาชีพนี้จะแพร่หลายในชุมชนแล้ว อาชีพนี้ยังเป็นที่นิยมของประชานทั่วไปในประเทศอีกด้วย


 



รับจ้าง

        เป็นอาชีพที่ไม่ต้องมีการลงทุนมากนัก เพียงแต่ต้องทำงานให้ผู้อื่น แต่ก็เป็นอาชีพที่สุจริตอาชีพหนึ่ง เป็นอาชีพที่ต้องมีความขยัน ความอดทน และความสามารถ จึงสามารถประกอบอาชีพนี้ได้ดี แต่ค่อนข้างที่เป็นอาชีพที่มีความอิสระ ไม่ต้องเครียด อาชีพนี้จึงเหมาะกับประชาชนที่ค่อนข้างไม่ต้องอาศัยความรู้มากนัก



จักสาน
ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ (สานเข่ง) ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตโดยกลุ่มจักสานเข่งบ้านท่าเคย รวมกลุ่มประมาณ ๑๗ คน ที่ชาวบ้านท่าเคย มีความรู้ ความสามารถด้านจักสานเข่งด้วยไม้ไผ่รวกโดยได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสวนผึ้ง สนับสนุนงบประมาณมาตลอดทำให้เกิดเป็นอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัว มีเงินหมุนเวียนในครอบครัวได้อย่างดี เป็นเวลายาวนานตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย
วัสดุดิบประกอบด้วย ไม้ไผ่รวกอายุประมาณ ๑ ปีลำต้นตรง เครื่องจักรตอก มีด หว้าสำหรับทำหูเข่ง จำหน่ายในราคาใบละ ๕๐-๑๐๐ บาท